วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

โปรแกรมCyberLink PowerDirector

โปรแกรม CyberLink PowerDirector เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่ใช้งานง่าย CyberLink PowerDirector จะมีเครื่องมือและเอฟเฟคให้ใช้หลากหลายมากกว่า 100 รูปแบบ ตัวอย่างเช่น timeline transitions effects และอื่นๆ
และที่สำคัญของโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ CyberLink PowerDirector คือมีสือการสอน มีผู้ใช้หลากหลาย ทำให้เมื่อไม่เข้าใจการทำงานสามารถหาข้อมูลได้ง่าย ทำให้เรียนรู้วิธีการตัดต่อวีดีโอได้รวดเร็วขึ้น
MultiCam Designer

โปรแกรมVirtualDub

VirtualDub โปรแกรมตัดต่อวีดีโอนี้สามารถทำงานได้กับไฟล์ AVI ด้วยอินเตอร์เฟซที่เรียบงายและชัดเจน จะช่วยให้เลื่อนและตัดคลิปได้อย่างง่ายได้ ความสามารถของโปรแกรมก็มี ปรับคมชัด, เบลอ, ปรับขนาด, หมุนความสว่างสีและความคมชัดปรับแต่ง – และมีปลั๊กตัวเลือกเพิ่มให้ได้ใช้อีกด้วย
VirtualDub

การตัดต่อวีดีโอ

                       ก่อนที่จะลงมือถ่ายทำและตัดต่อสร้างงานวิดีโอ เราควรจะวางแผน
การทำงานเสียก่อน ซึ่งในส่วนนี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานอย่างมี
ประสิทธิภาพตรงตามความต้องการ ไม่ต้องมาแก้ไขในภายหลัง
โดยมีลำดับแนวคิดในการสร้างสรรค์งานวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเขียน Storyboard
        การเขียน Storyboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ขึ้นมาก่อน
ที่จะไปถ่ายทำจริง เพื่อจะทำให้ฉากและภาพที่มีองค์ประกอบต่างๆ
ตรงตามความต้องการมากที่สุด และเพื่อป้องกันการตกหล่นในระหว่าง
ทำเพราะถ้าถ่ายซ่อมทีหลังจะไม่สะดวก
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
       การทำงานวิดีโอจะเป็นต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ตั้งแต่ไฟล์วิดีโอ
ไฟล์เสียงดนตรีให้พร้อม เพื่อช่วยให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีแหล่งต่างๆ

ดังนี้
       - ไฟล์วิดีโอจากภาพยนต์ หรือสารคดี ข่าว
       - การถ่ายทำวิดีโอเอง
       - การเตรียมไฟล์เสียงและบรรยาย
ขั้นตอนที่ 3 การตัดต่อวิดีโอ (ให้สอดคล้องกับ StoryBoard ที่วางไว้)
       เป็นการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ
ขั้นตอนตัดต่อคือ
      1. Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)
      2. Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)
      3. Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)
      4. Overlay (ทำภาพซ้อน)
      5. Title (ใส่ตัวหนังสือ)
      6. Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)
      7. Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)
          ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้
เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้
หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่น
ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า คุณจะตัดต่อวีดีโอ
อย่างไร และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ

ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ
        Capture เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้
คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้
วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียง
ไฟล์เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอน
การจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจาก
วีดีโอเป็นภาพนิ่งได้อีกด้วย
        Edit ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้
Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ
ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ใน
ขั้นตอนนี้ หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่น
หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่อง
เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ
ก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น จับภาพวีดีโอ
มาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วนก็สามารถตัดแยก
scene วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่
ต้องการออก ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออก
และการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น การใส่ตัวฟิลเตอร์ ฝนตกในคลิปวีดีโอ
ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ ) ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน
        Effect ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition)
ระหว่างคลิปวีดีโอใน project ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ
ให้เลือกอย่างมากมายใน Library ทรานสิชั่น เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป
ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไป
ที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกัน
ของทั้งสองฉาก เป็นต้น นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง
        Overlay ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่ เหมือนกับ
ที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ เป็นภาพ
ของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่
        Title ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล หรือตัวหนังสือ
ปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือ
แบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่าง
ขึ้นไปด้านบน เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ หรือจะวิ่งจากด้านขวามือ
มาซ้ายมือ หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้
       Audio ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น
CD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ ทำดนตรีประกอบได้ บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้ง
การปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับ ในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียง
บรรยายลงไป เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียง
ของดนตรีประกอบ เป็นต้น
       Share ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็น
สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์
วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทป
อีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD 
1. เมื่อติดตั้งตัวโปรแกรมแล้ว ก็เปิดการใช้งาน
2. เลือกที่ VideoStudio Editor เพื่อสร้างไฟล์วีดีโอ

4le02
3. หน้าตาของตัวโปรแกรมในขณะใช้งาน
rfsx5
4. ตรงส่วนนี้จะมีให้เลือกหน้าตาในการปรับแต่งไฟล์วีดีโอ
gik06
a3ty7
5. จากนั้นให้ Right Click ที่ช่องแนบไฟล์ เพื่อเลือกไฟล์ภาพ หรือวีดีโอ
gxf68
6. เลือกไฟล์ที่ต้องการใส่ในวีดีโอ สามารถลากเมาส์เพื่อเลือกทีละมากกว่าหนึ่งไฟล์
จากนั้นกด Open

u6ff9
7. หากต้องการใส่เพลงให้กับวีดีโอ ก็ให้ Right Click แล้วเลือกแนบไฟล์ Audio
z8j10
8. เลือกเพลงที่ต้องการ แล้วกด Open
gwp11
9. ก็จะได้ดังภาพ
7m432
พึงจดจำ หมั่นเซฟไฟล์โปรเจคเป็นระยะๆ เพื่อว่าหากมีข้อขัดข้อง
โปรแกรมไม่ทำงาน เรายังสามารถเรียกงานเดิมกลับมาทำใหม่ได้
ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ !
10. ไฟล์ที่ได้มา จะเป็นนามสกุล .VSP เป็นไฟล์โปรเจคของโปรแกรม Ulead
22n14
11. นอกจากไฟล์ภาพแล้ว ยังสามารถแนบไฟล์วีดีโอ มาสร้างไฟล์ร่วมกันได้
1vu15
wog16
j6h17
12. จากนั้นเป็นการปรับแต่งไฟล์วีดีโอที่จะทำ โดยเลือกเอฟเฟคที่ต้องการ
แล้วใช้เมาส์คลิกลากลงไปวางระหว่างไฟล์

1jw18
13. ยังมีเอฟเฟคต่างๆ ให้เลือกตามที่ต้องการ
z3b19
14. เอฟเฟคระหว่างไฟล์ เราสามารถจับลากให้สั้นยาวได้ตามต้องการ
แต่จะต้องคอยปรับความยาวของภาพและไฟล์ด้วยตามลำดับ เนื่องจาก
เอฟเฟคเหล่านี้จะย่นความยาวของไฟล์โดยอัตโนมัติ เพื่อแทรกแอนนิเมชั่น

Tips :
เนื่องจากมีอีเฟคมากมายให้เลือก แต่มิใช่ว่าเราจะใช้ทั้งหมด เราสามารถเลือก
เพียงแค่ไม่กี่อย่างที่เราชอบและใช้บ่อย ไว้ในหมวดที่ฉันชื่นชอบ เพื่อเรียกใช้
ได้สะดวกขึ้นด้วยการ Right Click –> Add to My Favorites

0l820
15. หลังจากเพิ่มอีเฟคหมดแล้ว ก็ปรับแต่งความยาวของแต่ละไฟล์ตามต้องการ
pbo22
16. การใส่ข้อความ (Title ) ลงในวีดีโอ เป็นการใส่ข้อความต่างๆ
ลงบนหน้าจอวีดีโอ สำหรับยูหลีด11 สามารถใส่ภาษาจีนได้
แอนนิเมชั่นข้อความ ที่มากับตัวโปรแกรม ก็มีให้เลือกสรรมากมายอยู่แล้ว
เราสามารถเลือกแอนนิเมชั่นที่เราต้องการ แล้วจับลากลงช่อง Text

lw623
17. Double Click ที่กล่องข้อความ เพื่อทำการแก้ไขปรับแต่งต่างๆ
iy724
0z825
18. ส่วนนี้คือการปรับตำแหน่งของกล่องข้อความ
4dz26
19. ส่วนนี้คือการปรับแต่งฟอนต์ และเอฟเฟคต่างๆ ของข้อความ
5bi27
20. ถัดไป คือการปรับแต่งแอนนิเมชั่นของกล่องข้อความ
ในการแสดงผล ให้ติ๊กที่ Apply animation เพื่อให้แสดงผล
แอนนิเมชั่นของกล่องข้อความ

fg628
21. ส่วนนี้คือการปรับแต่งเพิ่มเติม ของการแสดงผลแอนนิเมชั่น
ในการแก้ไขข้อความ ให้ Doubble Click ที่กล่องข้อความที่หน้าจอ
จึงจะสามารถเปลี่ยนข้อความได้

ssf30
22. เช่นกัน กล่องข้อความก็สามารถลากสั้นยาวได้ตามที่ต้องการ
uf631
Audio : การปรับแต่งไฟล์ออดิโอของวีดีโอ เป็นการปรับแต่งต่างๆ
ให้กับไฟล์เสียง เช่น ปรับเสียง หรืออีเฟคอื่นๆ เพิ่มเติม 

23. คลิ้กที่ไฟล์ออดิโอ

7m432
24. ในส่วนนี้คือการปรับแต่ง ส่วนของการแยกลำโพงซ้ายขวานั้น
เหมาะกับการสร้างวีดีโอ จากไฟล์วีดีโอที่มีการพากษ์เสียงมากกว่า
หนึ่งภาษา หรือไฟล์คาราโอเกะ เราสามารถปรับตรงนี้เพื่อเลือก
ภาษาเดียว หรือเลือกแค่เสียงคาราโอเกะ

rbl33
25. เมื่อเสร็จสิ้นการปรับแต่งเบื้องตน ก็ถึงลำดับของการสร้างไฟล์วีดีโอ
คลิ้กที่ Share เพื่อสร้างไฟล์

os934
26. เลือกรูปแบบไฟล์ที่ต้องการจะสร้าง ในกรณีของการสร้างไฟล์วีดีโอ
สำหรับทำแผ่นวีซีดี แนะนำให้เลือก mpeg2 ซึ่งเป็นไฟล์ชนิดเดียวกันกับ
mpeg1 แต่คุณภาพรูปภาพจะชัดกว่า mpeg1 หนึ่งเท่าตัว
หรือจะเลือกเป็น SVCD หรืออื่นๆ ก็ได้เช่นกัน

 v1z35
27. หลังจากนั้นก็ปล่อยให้โปรแกรมเรนเดอร์ไฟล์วีดีโอ
(สร้างไฟล์วีดีโอ) ในระหว่างนี้ ไม่ควรเปิดโปรแกรมอื่นๆ
มาใช้งาน เพื่อว่าจะได้ไฟล์ที่มีคุณภาพดีที่สุด
o6n36                                  

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ระดับของสารสนเทศ

                                                 ระดับของสารสนเทศ
ปัจจุบันข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสังคมในยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based Society) กล่าวคือ คนในสังคมใช้ข้อมูลและสารสนเทศในการตัดสินใจ มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะสารสนเทศเป็นสิ่งที่ช่วยให้การตัดสินใจของผู้ใช้มีความแม่นยำ ให้นักเรียนลองจินตนาการดูว่า หากนักเรียนต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการเดินเข้าไปที่ร้านและเลือกพิจารณาคอมพิวเตอร์ทีละยี่ห้อเพื่อเปรียบเทียบด้วยตนเองนั้น นักเรียนคงต้องใช้เวลาเป็นวันในการเทียบเคียงข้อมูล แต่ปัจจุบันหากนักเรียนต้องการข้อมูลเพื่อตัดสินใจซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงแต่เข้าอินเทอร์เน็ต นักเรียนจะพบว่ามีหลายเว็บไซต์ที่ให้นักเรียนกรอกความต้องการการใช้งานเครื่อง แล้วเว็บไซต์จะประมวลผลและนำเสนอเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะและรุ่นใกล้เคียงกับความต้องการได้เพียงเสี้ยววินาที ซึ่งนี่เป็นแค่ตัวอย่างของการใช้งานสารสนเทศของผู้ใช้เป็นรายบุคคลเท่านั้น ปัจจุบันหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ได้นำสารสนเทศมาใช้ในการตัดสินใจมากขึ้น ซึ่งระดับของสารสนเทศเป็นระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ดังนี้

1. ระดับบุคคล 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับบุคคลนั้น จะเป็นการที่แต่ละบุคคลในองค์กรจะสร้างและใช้สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานส่วนตัวเท่านั้น เช่น การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดในการพิมพ์เอกสาร การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์ในงานนำเสนอสำหรับการสอนหรือบรรยาย โดยสามารถกรอกข้อความ ตาราง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ที่ช่วยดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจตลอดเวลา การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซลล์กรอกข้อมูล คำนวณ สร้างกราฟ และทำนายผลลัพธ์ของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น 

สารสนเทศระดับบุคคล

2. ระดับกลุ่ม 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับกลุ่มนั้น จะเป็นการที่กลุ่มของคนในองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกันจะสร้างและใช้สารสนเทศร่วมกัน ซึ่งจะส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

        หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้หรือระยะไกล ทำให้มีการใช้ทรัพยากร ได้แก่ ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน 

สารสนเทศระดับกลุ่ม

3. ระดับองค์กร 

            ระดับของการเกี่ยวข้องกับสารสนเทศในระดับองค์กรนั้น จะเป็นการที่แผนกต่าง ๆ ในองค์กร เช่น แผนการขายและการตลาด แผนการผลิต แผนกจัดซื้อ แผนกบุคคล แผนกการเงินและการบัญชี เป็นต้น มีการสร้างและส่งผ่านสารสนเทศจากแผนกหนึ่งไปยังอีกแผนกหนึ่งได้โดยสร้างสารสนเทศในรูปแบบรายงาน หรือกราฟเพื่อให้ผู้บริหารนำไปประกอบการตัดสินใจได้ 

        หลักการ คือ นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของแผนกต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน 

        สิ่งที่สำคัญของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มและระดับองค์กร คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายทั้งภายในองค์กรและการเชื่อมโยงภายนอกองค์กร เพื่อให้มีการสื่อสารและส่งข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 


การจัดการสารสนเทศ

                                                         การจัดการสารสนเทศ                                          
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการสารสนเทศ


ข้อมูล (data)  
    
 คือ ข้อเท็จจริงหรือรายละเอียด หรือเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวเลข ข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์ ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้องมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งที่เราสนใจ โรงเรียนเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เช่น เมื่อนักเรียนสมัครเข้าโรเรียนก็จะมีการบันทึกประวัตินักเรียนไว้ ข้อมูลของนักเรียนที่ โรงเรียนเก็บส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ บ้านเลขที่ ชื่อผู้ปกครอง บิดา มารดา นอกจากนี้ยังมีการบันทึก การมาเรียนของนักเรียน บันทึกผลการเรียน ข้องมูลเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจำมาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง แต่อย่างไรก็ตาม ข้องเท็จจริงที่บันทึกไว้นี้ไม่อาจทำให้รู้จักและเข้าใจนักเรียนแต่ละคนได้อย่างถ่องแท้ เพราะมีข้องมูลอย่างอื่นของนักเรียนที่ไม่ได้บันทึกเอาไว้อีกมาก เช่น สีผม สีตา ตำหนิ ความสูง น้ำหนัก อาหารที่ชอบ วิชาที่ชอบ ความถนัด และงานอดิเรก ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจไดๆ จำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้ใช้งาน เช่น ร้านค้าแห่งหนึ่งเก็บข้อมูลการขายสินค้าตลอดปี เขาสามารถนำข้องมูลเหล่านี้มาศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณการขายต่อเดือน ประเภทและชนิดของสินค้าว่าสินค้าชนิดใดขายดี ชนิดใดขายไม่ดี แนวโน้มการขายในอนาคตจะเป็นอย่างไร สินค้าใดมียอดการขายที่ขึ้นอยู่กับเทศกาลหรือมีผลจากปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง



สารสนเทศ (information) 
     
     หมายถึงข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เพราะผ่านการประมวลผลด้วยวิธีที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในแบบที่สามารถนำมาใช้งานได้ และจะต้อง อยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการ เช่น เมื่อต้องการสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนการขาย สารสนเทศที่ต้องการก็ควรจะเป็นรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาที่เพื่อพอแก่การตัดสินใจ 



ระบบสารสนเทศ
   
    ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) คือ การดำเนินงานกับข้อมูล ตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรอาจใช้ฮาร์ดแวร์เป็นเครื่องมือที่ให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ การจัดทำสารสนเทศจะทำให้เกิดความรอบรู้ที่จะช่วยในการตัดสินใจหรือวางแผนในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการบันทึกข้อมูลลงแบบฟอร์ม และเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม ซึ่งในแต่ละเดือน ภาค หรือปี และมีการสรุปข้อมูลเป็นสารสนเทศเพื่อสร้างรายงาน ตัวอย่างเช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งต้องการคัดเลือกนักเรียนเพื่อไปตอบคำถามเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศจึงทำการคัดเลือกนักเรียนจากข้อมูลที่โรงเรียนจัดเก็บคือ ระดับคะแนนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นรายภาค และจากข้อมูลระดับคะแนนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคเรียนที่ 4 มีนักเรียน 3  คน ได้รับคะแนน 4 อาจารย์จึงพิจารณาระดับคะแนนทั้ง 4  ภาคเรียนของนักเรียน 3 คน

สารสนเทศสามารถแบ่งได้ดังนี้

   1) สารสนเทศที่ทำประจำ เป็นสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเป็นประจำ และมีการดำเนินการโดยสม่ำเสมอ เช่น การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน รายงานเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายประจำวันของนักเรียน รายงานเกี่ยวกับผู้มาติดต่อหรือตรวจเยี่ยมโรงเรียนในแต่ละเดือน
    2) สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย ตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศจะมีการให้ทำรายงานส่งเพื่อการต่างๆ เช่น งบดุลของบริษัทที่ต้องทำขึ้น เพื่อยื่นต่อทางราชการและใช้ในการเสียภาษี
       3) สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ ในการดำเนินงานต่างๆ บางครั้งจำเป็นต้องทำรายงานข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น รัฐบาลต้องการสร้างเขื่อนอเนกประสงค์และจำเป็นต้องได้ข้อมูลเพื่อสนับสนุนว่าจะสร้างหรือไม่ จึงต้องมีการเก็บรวบรวมข้องมูลเพื่อสรุปรายงานขึ้นเป็นการเฉพาะ แล้วนะสารสนเทศนั้นมาพิจารณาถึงผลดี และผลเสียเพื่อช่วยในการตัดสินในการดำเนินงานเพื่อให้ได้สารสนเทศเหล่านี้จึงเป็นงานเฉพาะที่จัดทำเป็นครั้งคราวเพื่อโครงการหนึ่งๆ เท่านั้น
1.  การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
          การเก็บรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งควรกระทำควบคู่กันไป กล่าวคือ เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็ทำการตรวจสอบข้อมูลนั้นทันที เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความต้องการมากที่สุด
         

 1.1  การเก็บรวบรวมข้อมูล 
     เป็นการจัดการกับข้อมูลที่มีจำนวนมาก โดยจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและเป็นระบบ จึงควรกำหนดว่าจะต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง ข้อมูลได้มาจากไหน และจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นมาได้อย่างไร 
1.2  การตรวจสอบข้อมูล 
     เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพ เนื่องจากหากข้อมูลที่ได้รวบรวมมานั้นไม่ถูกต้อง ขาดความน่าเชื่อถือ หรือไม่ครบถ้วน สารสนเทศที่ได้ย่อมไม่มีคุณภาพ
        


วิธีการประมวลผลข้อมูล

                                                  วิธีการประมวลผลข้อมูล                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                         ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำ ไปคำนวณได้ ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
ก. เลขจำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137 , 8319 , -46
ข. เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12 หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763
เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบคือ
ก. แบบที่ใช้กันทั่วไป เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34
ข. แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์ เช่น
123. x 104 หมายถึง 1230000.0
13.76 x 10-3 หมายถึง 0.01376
- 1764.0 x 102 หมายถึง -176400.0
- 1764.10-2 หมายถึง -17.64
2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำ ไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น COMPUTER, ON-LINE, 1711101,&76

วิธีการประมวลผลข้อมูล
วิธีการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ มีหลายวิธี ดังนี้
1) การคำนวณ (Calculation) หมายถึง การนำข้อมูลที่เป็นตัวเลขมาทำการ บวก ลบ คูณ หารยกกำลัง เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณค่าแรง เป็นต้น
2) การจัดเรียงข้อมูล (Sorting) เป็นการเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือมากไปหาน้อย เพื่อทำให้ดูง่ายขึ้น ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เร็วขึ้น เช่น การเรียงคะแนนดิบของนักเรียนจากมาก ไปหาน้อย การเก็บบัตรดัชนีสำหรับหนังสือต่างๆ โดยการเรียงตามตัวอักษร จาก ก ข ค ถึง ฮ เป็นต้น
3) การจัดกลุ่ม (Classifying) หมายถึง การจัดข้อมูลโดยการแยกออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ต่างๆ เช่น การนำข้อมูลเกี่ยวกับประวัตินักศึกษา มาแยกตามคณะต่างๆ เช่น แยกเป็นนักศึกษาที่ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ นักศึกษาที่สังกัดคณะครุศาสตร์ เป็นต้น การทำเช่นนี้ทำให้การค้นหาข้อมูล ทำได้ง่ายขึ้น และยังสะดวกสำหรับทำรายงานต่างๆ
4) การดึงข้อมูล (Retrieving) หมายถึง การค้นหาและการนำข้อมูลที่ต้องการมาจากแหล่ง เก็บข้อมูล เพื่อนำไปใช้งาน
5) การรวมข้อมูล (Merging) หมายถึง การนำข้อมูลตั้งแต่สองชุดขึ้นไปมารวมกันให้เป็นชุด เดียวเช่น การนำประวัติส่วนตัวของนักศึกษา และประวัติการศึกษามารวมเป็นชุดเดียวกัน เป็นประวัตินักศึกษาเป็นต้น
6) การสรุปผล (Summarizing) หมายถึง การสรุปส่วนต่างๆของข้อมูลโดยย่อเอา เฉพาะส่วนที่เป็น ใจความสำคัญ เพื่อเน้นจุดสำคัญและแนวโน้ม เช่น การนำข้อฒุลมาแจงนับและ ทำเป็นตารางการ หายอดนักศึกษา ของแต่ละวิชา ข้อมูลเหล่านี้ใช้สำหรับพิมพ์เป็นรายงานสรุป ส่งขึ้นไปให้ผู้บริหาร ระดับสูง เพื่อใช้ในการบริหาร
7) การทำรายงาน (Reporting) หมายถึง การนำข้อมูลมาจัดพิมพ์รายงานรูปแบบต่างๆ เช่น รายงานการวิเคราะห์อาชีพของผู้ปกครองของนักศึกษา รายงานการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
8) การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลเอาไว้โดยทำการคัดลอกข้อมูล จากต้นฉบับแล้วเก็บเป็นแฟ้ม (Filing) เช่น การบันทึกประวัติส่วนตัวนักศึกษาแต่ละคน เป็นต้น
9) การปรับปรุงรักษาข้อมูล (Updating) หมายถึง การเพิ่ม (Add) หรือการเอาออก (Delete) และการเปลี่ยนค่า (Change) ข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มให้ทันสมัยอยู่เสมอ

วิธีการประมวลผล (Processing Technique) ในรูปแบบที่2 การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการประมวลผลทางธุรกิจนั้นมีวิธีการประมวลผลได้หลายแบบดังนี้
1. การประมวลผลแบบชุด (Batch Processing)
คือ การประมวลผลโดยผู้ใช้จะทำการรวบรวมเอกสารที่ต้องการประมวลผลไว้เป็นชุดๆ ซึ่งแต่ละชุดอาจจะกำหนดเท่ากับเอกสาร 10 หรือ 20 รายการหรือมากกว่าก็ได้แต่ให้มีขนาดเท่ากัน แล้วป้อนข้อมูลดังกล่าวสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงใช้คำสั่งให้ประมวลผลพร้อมกันที่ละชุด

2. การประมวลผลแบบโต้ตอบ (Interactive)
หมายถึง การทำงานในลักษณะที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลา เช่น กรณีที่ลูกค้า นายวัลลภ คลองหก จากบริษัทราชมงคล จำกัด ติดต่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผนกขาย เจ้าหน้าที่พนักงานขายจะต้องป้อนรหัสลูกค้า เพื่อเรียกประวัตินายวัลลภขึ้นมาพิจารณาว่าใน ขณะนี้ได้สั่งซื้อสินค้าเกินวงเงินเครดิตหรือไม่ ถ้าไม่เกินก็อนุมัติการขายแต่ถ้าหากเกินก็อาจจะให้ชำระเป็นเงินสด จากนั้นจะมีการตรวจสอบแฟ้มสินค้าคงคลังว่ามีสินค้าดังกล่าวหรือไม่เพื่อตัดสต็อก (Stock) แล้วพิมพ์บิลเพื่อจัดส่งให้ลูกค้า แสดงการทำงานการออกบิลโดยการประมวลผลแบบโต้ตอบ
 

ประเภทของข้อมูล

                                            ประเภทของข้อมูล
  1. ข้อมูลตัวอักษรimg7.gif คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขที่ไม่ใช้ในการคำนวณ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ เช่่น ทะเบียนรถยนต์ ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรทัศน์ บ้านเลขที่ เป็นต้น
      2. ข้อมูลที่เป็นตัวเลข img8.gif คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลข 0 ถึง 9 ใช้ในการคำนวณได้ เช่น คะแนน จำนวนเงิน ราคาสินค้า เป็นต้น
      
3. ข้อมูลภาพ a_cat_stripe.gifคือข้อมูลที่เป็นภาพอาจเป็นภาพนิ่ง เช่นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพเคลื่อไหว เช่น ภาพจากวิดีทัศน์ เป็นต้น อาจเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นซีดี เป็นต้น

 4. ข้อมูลเสียง คือ ข้อมูลที่รับรู้ด้วยการได้ยิน จัดเก็บอยู่ในสื่อคอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลข้อมูลเสียงด้วยลำโพง
1. จำแนกตามลักษณะการเก็บข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
               1.1 ข้อมูลที่ได้จากการนับ (Counting Data) เช่น จำนวนนักศึกษาที่สอบผ่าน จำนวนรถที่ผ่านเข้า - ออกมหาวิทยาลัยในช่วงเวลา 
08.00 - 09.00 น . ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นเลขจำนวนเต็ม บางครั้งเรียกว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง
               1.2 ข้อมูลที่ได้จาการวัด (Measurement Data) เช่น น้ำหนักของนักศึกษาแต่ละคน ส่วนสูงของนักศึกษาแต่ละคน ระยะเวลาในการ เดินทางจากบ้านมายังที่ทำงานของพนักงาน แต่ละคน ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ ข้อมูลที่ได้จะมีลักษณะเป็นเศษส่วน หรือจุดทศนิยม บางครั้ง  เรียกว่าข้อมูลแบบต่อเนื่อง
               1.3 ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ( Ob servation Data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการติดตามหรือเฝ้าสังเกตพฤติกรรม หรือปรากฏการณ์ต่างๆ เป็นต้น
               1.4 ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ( Interview Data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการถามตอบโดยตรง ระหว่างผู้สัมภาษณ์ และผู้ถูกสัมภาษณ์

      2. จำแนกตามลักษณะข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
               2.1 ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) เป็นข้อมูลที่แสดงความแตกต่างในเรื่องปริมาณหรือขนาด ในลักษณะของตัวเลขโดยตรง เช่น อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
                     - ข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าเป็นเลขจำนวนเต็มที่มีความหมาย เช่น จำนวนสิ่งของ จำนวนคน   เป็นต้น
                       - ข้อมูลแบบต่อเนื่อง ( Continuous Data) หมายถึง ข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวเลขที่มีค่าได้ทุกค่าในช่วงที่กำหนด และมีความหมายด้วย เช่น รายได้ น้ำหนัก เป็นต้น
               2.2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) เป็นข้อมูลที่แสดงลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น เพศชาย เพศหญิง จะเป็นข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวเลขโดยตรง

   
    3. จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
               3.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะเก็บด้วยการสัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนรูป และมีรายละเอียดตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก เช่น ข้อมูลที่ได้จากการนับจำนวนรถที่เข้า - ออก มหาวิทยาลัยในช่วงเวลา 08.00 - 09.00 น . ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษา
               3.2 ข้อมูลทุติภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เป็นข้อมูลในอดีต และมักจะเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นมาแล้ว ผู้ใช้นำมาใช้ได้เลย จึงประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย บางครั้งข้อมูลทุติยภูมิจะไม่ตรงกับความต้องการหรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอ นอกจากนั้นผู้ใช้จะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่นำมาใช้ สรุปผลการวิจัยผิดพลาดไปด้วย เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุโดยรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาในปี 2540 - 2541 เป็นข้อมูลที่บางครั้งอาจถูกแปรรูปไปแล้ว แต่เนื่องจากบางครั้งเราไม่สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิได้เราจึงต้องศึกษาจากข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้ว